ขอเกริ่นก่อนว่า เนื่องจากช่วงนี้มีหลายงานที่ได้มีโอกาสออกแบบและอยู่ในช่วงก่อสร้างใกล้เสร็จแล้วหลายโปรเจคพร้อมกัน
ก็เริ่มแอบร้อนใจเลยมีการเริ่มพูดคุยกับช่างภาพหรือเริ่มหาข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ในการเก็บผลงานและถ้าโชคดีก็คงได้โอกาสในการตีพิมพ์(ทั้ง online และ offline)
แต่มันมีโปรเจคหนึ่งที่คิดว่าในแง่หนึ่งน่าสนใจดีและคิดว่ามันมีศักยภาพสูงประมาณหนึ่งที่จะพาเราไปได้ไกลขึ้น
เลยคิดว่างั้นน่าจะหาข้อมูลในการออกแบบเผื่อไว้หน่อยดีกว่า เผื่อที่จะต้องทำให้ตัว Concept มันแข็งแรงขึ้น อย่างน้อยในอนาคตก็อาจจะได้ใช้ในงานเขียนบรรยายโครงการนี้
โปรเจคนี้มีชื่อว่า 'Nico House'
ออกตัวเบื้องต้นก่อนว่าจริงๆ แล้วโปรเจคนี้เราเข้าไปตอนบ้านหลักสร้างไป 30-40% แล้ว มีโครงสร้าง มีผนังบางส่วนและปิดหลังคาแล้ว
แต่เนื่องจากข้อพิพาทหรืออะไรไม่อาจทราบได้ระหว่างเจ้าของบ้านและผู้ออกแบบคนเก่าจึงทำให้ต้องแยกย้ายและกลายเป็นเราเข้าไปทำต่อ
โจทย์ง่ายมากมีอยู่ 3 ข้อ
ข้อแรก: ด้วยโครงเดิมของโครงการ ทำอย่างไรให้ออกมาเป็น Contemporary Chinese Style
ข้อสอง: ทำพื้นที่นอกอาคารใหม่ทั้งหมด รวมถึงที่จอดรถใหม่
ข้อสาม: ทำ Interior Design ของบ้านทั้งหมดใหม่
ส่วนตัวไม่มีปัญหากับการเขย่า Function ใหม่หรือการออกแบบพื้นที่ต่างๆ ใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องยากมากนัก
แต่คิดว่าสิ่งที่ยากสุดคือการออกแบบภายใต้ Contemporary Chinese Style
ดังนั้นการตั้งต้นของการออกแบบเลยไปอยู่ที่การหา Case studies และการพูดคุยกับลูกค้าที่เขาอยู่จีนมานาน(First-Hand Experience)
เพื่อนำทั้งหมดเป็นสารตั้งต้น(Materials) ที่ใช้ในการออกแบบ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการออกแบบส่วนมากจะใช้สัญชาตญาณและข้อมูลข้างต้นเป็นหลัก
แต่พองานก่อสร้างมันเป็นรูปเป็นร่างแล้ว มันก็อดที่จะรู้สึก 'ว้าว' กับผลลัพธ์ไม่ได้
และพาลทำให้คิดว่า ไอ้ Court ที่ออกแบบไว้ตรงทางเข้าเนี่ย มันบ้ามากเลย มันทำให้อาคารนี้แบบ
"It's so freaking Chinese'
ซึ่งก็อย่ากระนั้นเลย หาข้อมูลเพิ่มอีกหน่อย หา Support Evidence จะได้ 'ชู' ตรงนี้เป็นจุดขายให้เป็นเรื่องเป็นราวไป
รูปแบบและความเชื่อของ Chinese Courtyard House
Siheyuan
‘Courtyard House’ อาจดูไม่ค่อยคุ้นตาเท่าไหร่นักในสังคมไทยและในสังคมปัจจุบัน
แต่แท้ที่จริงแล้ว Courtyard House ถือว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีที่มาที่ยาวนานถึง 5,000 ปี
แม้รูปแบบอาจจะไม่เหมือนกันมากนัก แต่ Courtyard House ก็มีปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วโลกและอยู่ในหลายวัฒนธรรม
เพื่อที่จะให้เข้าใจตรงกัน อาจต้องเริ่มจากการกำหนดนิยามและความหมายของ ‘Courtyard House’ ก่อน
โดย Courtyard House นั้นหมายถึง อาคารหรือกลุ่มอาคารที่ถูกปิดล้อมไปด้วยผนังหรือพื้นที่โดยรอบเพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างตรงกลางของอาคารหรือกลุ่มอาคารนั้น
ลักษณะของ ‘พื้นที่ว่างตรงกลาง(Court/Courtyard)’ อาจมีจุดมุ่งหมายของการออกแบบที่ต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อม หรือการรองรับรูปแบบทางวัฒนธรรมและกิจกรรมทางสังคมนั้นๆ
Note:
ในพื้นที่ที่ต่างกันการออกแบบ Tianjing และ Siheyuan ก็จะต่างกันออกไป เช่น ในพื้นที่ตอนเหนือของจีนที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห(Yellow River) พื้นที่ส่วนมากจะเป็นพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ การออกแบบ Tianjing และ Siheyuan จึงมีลักษณะที่จะเป็นพื้นที่ปิดรอบทั้งหมดและตัวอาคารจะเป็นแนวราบเพื่อเหมาะกับการต้องรับมือกับพายุและฝุ่นโดยรอบที่จะพัดเข้าสู่อาคาร ในขณะที่พื้นทางตะวันออกเฉียงใต้อาคารจะมี Siheyuan ที่เป็นพื้นที่ร่วม โดยตัวอาคารทั้งหมดจะเป็นลักษณะอาคารหลายชั้น ยกสูง เพื่อรับมือกับน้ำท่วม และมีพื้นที่สำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร
References:
The Traditional Courtyard House in China: Its Formation and Transition, Ying Liu and Adenrele Awotona
Courtyard Housing in China: Chinese Quest for Harmony, Donai Zhang(2017)
Courtyard Houses of Beijing: Lesson from the Renewal, Donai Zhang(2015)
Source: Liu and Awotana
‘Chinese Soul’ เป็นหัวใจสำคัญที่จะขาดไม่ได้เมื่อต้องพูดถึง 'Siheyuan'
โดยมันหมายถึงหลักปรัชญาที่สำคัญที่รวมเอาความเชื่อระหว่างปรัชญาแบบขงจื้อ(Confucianism)และปรัญชาแบบเต๋า(Daoism)เข้าไว้ด้วยกัน
และตัว Siheyuan จะถูกกรอบของ Chinese Soul ครอบไว้ในการออกแบบและจะแสดงออกมาผ่านการกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
ในสถาปัตยกรรมแบบจีน(Chinese Architecture) Courtyard House ถือว่าเป็นอัตลักษณ์หนึ่งที่เด่นชัดของสถาปัตยกรรมจีน โดยมีชื่อเรียกรูปแบบของสถาปัตยกรรมดังกล่าวว่า
‘Siheyuan’
นักโบราณคดีบางกลุ่มอ้างว่า รูปแบบของ Siheyuan อาจสามารถย้อนกลับไปถึงในสมัยยุคหินกลาง(Middle Neolitic Period)
Siheyuan ถือว่าเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมมากใน ‘Yangshao Culture(5,000-3,000 BCE)’
โดยมีเหตุผลหลักคือการออกแบบและก่อสร้างเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติและการสร้างความปลอดภัย
ในทางขณะเดียวกันก็ใช้พื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นภายในในการเปิดให้เกิดแสงสว่าง อากาศและกิจกรรมต่างๆ
โดยตัวของ ‘กำแพงแก้ว(Tianjing)’ เป็น element ทีสำคัญมากในอาคารแบบ Siheyuan
เพราะ Tianjing มีหน้าที่กำหนดอาณาเขต(Territory) การแบ่งพื้นที่(Zoning) หรือแม้กระทั่งการกำหนดรูปแบบและการใช้งานของ space ภายใน
Harmony with Nature:
ในรูปแบบและเงื่อนไขของ Chinese Soul ในทางปรัชญาแบบเต๋า(Daoism) นั้น
จะเน้นไปที่การสร้างให้ตัวพื้นที่และสถาปัตยกรรมเชื่อมต่อและกลมกลืนไปกับสิ่งต่างๆ รอบตัว
ความต่อเนื่องระหว่างอาคารและพื้นที่(Site Context)
หรือการเชื่อมต่อระหว่างความเป็นธรรมชาติ(Nature) เข้ากับสิ่งแวดล้อมแบบประดิษฐ์(Artificial Environment)
ในทางเต๋าเชื่อว่า ‘Heaven-Earth-Human-Self’ นั้นเชื่อมต่อและกลมกลืนซึ่งกันกัน(Harmony)
Harmony in Relationship:
ในทางกลับกันในรูปแบบปรัชญาแบบขงจื้อ(Confucianism) จะเน้นไปที่การลำดับชั้น(Hieracry)และการควบคุม(Control)เป็นสำคัญ
ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านการกำหนดแนวแกน(Axis)ที่ชัดเจน การกำหนดการเข้าถึง(Sequence) การแบ่งพื้นที่(Zoning) การกำหนดขนาดที่แตกต่างเพื่อบอกความสำคัญ(Scale)
เช่น อาคารที่คนสำหรับสำคัญหรือผู้ที่มีอาวุโสสุดในครอบครัว มักจะเป็นอาคารที่มีหลังคาใหญ่ที่สุดและอยู่ในพื้นที่ตรงกลางหรือเยื้องไปด้านหลัง
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด่นและปลอดภัยที่สุด โดยจำเป็นต้องผ่านห้องหรือเรือนต่างๆ ก่อนเข้าถึงอาคารดังกล่าว
ส่วนในพื้นที่อื่นๆ อย่างเช่นห้องของคนในลำดับอาวุโสหรือสำคัญน้อยลงมาก็จะถูกวางในพื้นที่ๆ อื่นๆ ที่มีความสำคัญ ปลอดภัย และเด่นน้อยลงไปตามลำดับ
นอกจากนั้นในเชิงของความเชื่อแบบฮวงจุ้ย(Feng-Shui) ก็มีการกล่าวถึงเช่นกัน
ตามความเชื่อของฮวงจุ้ยที่คนทั่วไปรู้จักกันนั้น ก็มักจะต้องเคยได้ยินคำว่า “หลังติดภูเขา หน้าติดแม่น้ำ”
เช่นเดียวกันกับแนวคิดของ Siheyuan ที่เชื่อกันว่ากำแพง(Tainjing)หรือพื้นที่โดยรอบที่ล้อมรอบอาคารหลักเปรียบเสมือนกับภูเขา ซึ่งจะทำหน้าที่ในการปกป้องอาคารหลักที่ถือว่าเป็นพลังชี่(Qi)ของโครงการไว้
Source: Liu and Awotana
นอกจากความเชื่อภายใต้ Ideal ทั้งแบบ Chinese Soul และฮวงจุ้ย(Feng-Shui) แล้วนั้น ยังมีการแบ่ง Siheyuan แบบอื่นเช่นเดียวกัน อาทิเช่นแบ่งตามถิ่นที่ตั้ง(Location)
เบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่หลัก:
แบบปักกิ่ง(Beijing)
Siheyuan ในแบบทางเหนือนั้นจะมีหลักการกำหนดพื้นที่ไปทางแนวปรัชญาแบบขงจื้อเสียมากกว่า นั้นคือจะมุ่งเน้นไปที่การกำหนดแกน, การควบคุมและการจัดระเบียง
ซึ่งจะเป็นไปตามอุดมคติแบบ ‘ขงจื้อ’ ในเรื่อง Harmony in Social Relationship
แบบซูโจ(Suzhou)
Harmony with Nature คือ Theme หลักของการออกแบบ Siheyuan ในพื้นโซนใต้ งานออกแบบ Siheyuan จึงเน้นไปที่การสร้าง Garden Court เป็นสำคัญ
ไม่เพียงเท่านั้น ถิ่นที่ตั้งก็เป็นเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดขนาดของ Siheyuan เช่นเดียวกัน
อย่างในโซนเหนือขนาดของ Siheyuan จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าในโซนใต้ โดยเหตุผลสำคัญคือสภาพอากาศที่ต่างกัน
ในตอนเหนือที่จะมีช่วงที่อากาศหนาวเย็นกว่าพื้นที่ทางใต้ มีความต้องการที่จะให้ Siheyuan กว้างกว่าเพื่อเปิดรับแสงอาทิตย์ได้เยอะขึ้น
ในทางกลับกัน Siheyuan ในทางใต้ก็ต้องการเพิ่มร่มเงาที่มากกว่าทางเหนือ จึงมีขนาดของ Siheyuan ที่เล็กกว่า
Formation and Transition of Traditional Chinese Courtyard:
แม้ว่า Chinese Soul จะเป็นหัวใจและหลักการสำคัญของหลายสิ่งของวัฒนธรรมจีน
แต่ภายหลังการปฎิวัติซินไฮ่(1911) นอกจากจะเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์หมิง(Qing Dynasty)(1912) ก็เป็นการสิ้นสุดของไอเดียแบบ Traditional Chinese เช่นเดียวกัน
ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนบและความศักดิ์สิทธิ์ของไอเดียแบบ Chinese Soul
และกระทบต่อ Siheyuan ที่ยึดตามขนบแบบปรัชญาเต๋าและขงจื้อ
จุดสิ้นสุดของระบบการปกครองแบบเดิมส่งผลต่อรูปแบบของการครอบครองพื้นที่และการอยู่อาศัย
ชนชั้นนำและชนชั้นสูงต่างๆ ถูกยกเลิกบริวารและสิทธิประโยชน์หลายอย่างที่เคยได้รับ
ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะยังคงอนุญาตให้สามารถใช้งานบ้านต่อไปได้ แต่การถูกควบคุมทรัพยากรและทรัพย์สินก็ส่งผลต่อการครอบครองที่ดินและรูปแบบการใช้ชีวิต
จากบ้านที่เคยอยู่อาศัยร่วมกัน 4-5รุ่นและมีข้าราชบริวารมากหมาย การขัดสนทางเศรษฐกิจก็เป็นการบีบให้คนในครอบครัวต้องแยกตัวออกไปเพื่อหารายได้หรือโอกาสใหม่ๆ
และด้วยปัจจัยดังกล่าวก็ทำให้จำนวนประชากรในครอบครัวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
จนใน Siheyuan บางหลังก็เหลือสมาชิกแค่ 1 ครอบครัวหรือแค่คนแก่ หรือบางหลังก็ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง(Abandoned House)ไป
ถัดจากการการปฎิวัติซินไฮ่ ในปี 1911 หลังจากนั้นอีก 38 ปี คือปี 1949 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง
นั้นคือการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนของประธานาธิบดีเหมา เจิง เจ๋อตงที่มาพร้อมกับนโยบายพัฒนาประเทศแบบใหม่
‘Industrialisation and Urbanisation’
ตามแบบการพัฒนาของสหภาพโซเวียต(Soviet Union) กลายเป็นนโยบายการพัฒนาหลักของประเทศ
นโยบายดังกล่าวส่งผลให้เกิดการขยายตัวของประชากรในเมืองอย่างรวดเร็ว
ระหว่างปี 1949-1957 มีตัวเลขบันทึกไว้ว่าประชากรในเขตเมืองเพิ่มขึ้นถึง 34 ล้านคนใน 8 ปี โดยเพิ่มจากจำนวน 58 ล้านคน ขึ้นมาเป็น 92 ล้านคน
อย่างไรก็ตามแม้จำนวนของคนในเมืองจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันรัฐกลับไม่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือที่พักอาศัยสำหรับรองรับการเติบโตของเมือง
และเพื่อแก้ปัญหาในระยะสั้นของการไร้ที่อยู่ของคนเมือง Abandoned House ที่เกิดขึ้นในช่วง 1911 และเกิดในช่วงการปฎิวัติวัฒนธรรม(Great Cultural Revolution)
จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานชั่วคราวที่รัฐใช้เพื่อรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยรัฐจะกำหนดให้ 1 ครอบครัวอยู่ใน 1 ห้องจากหลายห้องใน Siheyuan
และจากการกระจุกตัวของผู้คนที่หลากหลายใน Siheyuan การไร้ข้อบังคับหรือข้อกำหนดในการอยู่อาศัยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของ Siheyuan ไร้ทิศทาง
เนื่องจากผู้อยู่อาศัยต่อเติมอาคารและพื้นที่ตามอิสระ ซึ่งนั้นก็กลายเป็นการปิดฉาก ‘Siheyuan’ ตาม Idealogy แบบ ‘Chinese Soul’ ไปในที่สุด
Source: Liu and Awotana
Source: Liu and Awotana
Return to the Ideal of Traditional Chinese Courtyard House:
ภายหลังจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจจีนในทศวรรษที่ 80-90 ภายใต้การนำประเทศของประธานาธิปดีหลิวเชาฉี จนถึงเติ้ง เสี่ยวผิง
การค้นหารูปแบบและอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมจีนจึงถูกพูดถึงอีกครั้ง รวมถึง Traditional Chinese Courtyard หรือ Siheyuan เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามแม้ Siheyuan จะถูกกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง แต่การเติบโตของเมือง ข้อจำกัดทางพื้นที่ว่างภายในเมือง
รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการก่อสร้างก็กลายเป็นเงื่อนไขใหม่ๆ ที่ต้องคำนึงถึง
ดังนั้นจึงมีการสรุปรูปแบบของ New Chinese Courtyard House ไว้เบื้องต้น 3 รูปแบบใหญ่
ยังคงมี Court กลางที่เป็นลักษณะเด่นของ Siheyuan อยู่เช่นเดิม ไม่ว่าอาคารดังกล่าวจะเป็นอาคารแบบ Low-rise หรือ แบบ Medium-rise โดย Court จะทำหน้าที่สร้าง Harmony ไม่ว่าจะต่อสังคมหรือธรรมชาติ
Court กลางจะมีหน้าที่สำหรับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย
พื้นที่ Court จะเป็นพื้นที่ใช้เพื่อส่วนรวมและเป็นพื้นที่ที่คนจะใช้งานร่วมกัน ไมว่าจะเป็นลักษณะอาคารแบบไหน Court จะกลายเป็นพื้นที่ทางเดิน พื้นที่ส่วนกลางหรือเป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์ของคนในครัวเรือนหรือชุมชน
Updated Photos of Nico House by pasa archtiects:
Copyright by Natthaphan Sukonthaphan