อ้างอิงจากผลสรุปของการวิเคราะห์ข้อมูลลมภายในอาคารตาม image.1 และการนำเสนอตามโมเดลเบื้องต้นในการออกแบบ
ตามที่ได้เสนอไว้ใน Simulation Analysis of Internal Flow Velocity(ตอนแรก)
การยืนยันผลลัพธ์ของการออกแบบคือสิ่งจำเป็นในการจะยืนยันว่าแนวทางการออกแบบที่คาดการณ์ไว้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของโครงการได้จริงหรือไม่
ดังนั้นจึงให้ทางพี่ไอซ์(Siree Thirakomen)ลอง Simulated Analysis of Internal Flow Velocity เบื้องต้นให้ดู(Image.2)
การแก้ปัญหาการระบายอากาศภายในบ้านโดยใช้ Simulation Analysic of Velocity ประเมินการไหลเวียนลม
Simulation Analysis of Internal Flow Velocity(ตอนจบ)
Image.2 Source: Siree Thirakomen
Source: pasa architects co., ltd
อ่านตอนก่อนหน้า: Simulation Analysis of Internal Flow Velocity(ตอนแรก)
Note:
ตัวแปรควบคุมของการทำ Simulation
Wind Speed(แรงลมจากด้านนอก): 0.75m/s
Air Temperature(อุณหภูมิภายนอก): 30 องศาเซลเซียส
Radiant Temperature(การส่งผ่านความร้อนจากวัสดุ): 26 องศาเซลเซียส(ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่หักลบจากวัสดุกรอบอาคารแล้ว)
Active Rate(การใช้งานภายในพื้นที่): 1.50 หมายถึงกำหนดให้คนทำกิจกรรม เช่น เดินไปเดินมาภายในบ้าน
Clothing(การแต่งกาย): 0.50 หมายถึงการแต่งตัวแบบสบายๆ เช่น เสื้อยืด กางเกงขาสั้น
ผลลัพธ์ของการ simulated ข้อมูลทั้ง 2 โมเดลแบบเปรียบเทียบกัน จะเห็นได้ว่าใน image.2 ที่หน้าต่างตามจุดต่างๆ ถูกแก้ไขแล้วทั้งหมดตามข้อเสนอ
จะเพิ่มปริมาณลมที่เกิดขึ้นภายในอาคารอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อเปรียบเทียบกันตามจุดต่างๆ อาทิเช่น
ห้องนั่งเล่นในจุด Point C จำนวนลมที่เข้ามาสู่อาคาร ขึ้นจาก 0.22m/s สู่ 0.43m/s
Image.1 Source: Siree Thirakomen
อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขจะขยับขึ้นในบางจุดอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ประเด็นคือปริมาณของลมก็ยังคงกระจุกในบางตำแหน่งและในบางพื้นที่กลับแย่ลงอย่าง
อาทิเช่น Point D ที่จากเดิมมีลมอยู่บ้างที่ 0.28m/s กลับลดลงเหลือเพียง 0.10m/s
ดังนั้นพี่ไอซ์จึงเสนอแนวทางการปรับปรุงเพิ่มขึ้นในอีก 3 แนวทางจากข้อเสนอของทางสถาปนิกดังต่อไปนี้
Option 2: เพิ่มทางเข้าลมในบริเวณ Point D(โต๊ะทำงาน) และเปลี่ยนช่องเปิดทาง Point F ให้เป็นบานเลื่อนเปิดสลับ(Image.3)
Option 3: อ้างอิงจากการเปลี่ยนแปลงใน Option 2 แต่เปลี่ยนทางออกของลมบริเวณ Point A ให้เป็นบานเลื่อนเปิดสลับเต็มบาน(Image.4)
Option 4: อ้างอิงจาก Option 3 แต่เปลี่ยนลักษณะของช่องเปิดจากบ้านกระทุ้งใน Option 1-3 เป็นบานเลื่อนเปิดสลับเต็มบานใน Point E(Image.5)
Image.3 Source: Siree Thirakomen
Image.4 Source: Siree Thirakomen
Image.5 Source: Siree Thirakomen
อ้างอิงจาก 3 experiment models ของพี่ไอซ์ที่พี่ไอซ์เสนอมา
ทำให้สามารถรู้ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงช่องเปิดในส่วนทางออก(Point A) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของลมภายในอาคาร
รวมถึงการเพิ่มและเปลี่ยนแปลงช่องเปิดในบางจุด อาทิ Point D และ Point E จะส่งผลให้เกิดลมภายในอาคารมากขึ้น
โดยมี Option 3 ที่จะกลายเป็น Option ใหม่ที่มีความน่าสนใจที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นแนวทางการออกแบบช่องเปิดอาคารใหม่
อย่างไรก็ดี มีเรื่อง Surprise มากกว่านั้นคือการแก้ปัญหาเรื่องหนึ่งกลับส่งผลดีต่อเรื่องหนึ่งแบบไม่ได้ตั้งใจเช่นกัน
อ้างอิงจากปัญหาของโครงการ 3 ข้อในตอนแรก หนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือ การเกิดฝนสาดเข้าตามร่องประตูหน้าต่างโดยรอบอาคาร
หนึ่งในการแก้ปัญหาที่ทางสถาปนิกเสนอให้เจ้าของโครงการคือการเสนอให้มีพื้นที่เป็นพื้นที่กั้นระหว่างภายในและภายนอกอาคาร
โดยการเพิ่มพื้นที่ Semi-Outdoor อย่างระเบียงที่มีแนวระแนงออกมากันฝน(และสามารถกันแดดบางส่วนได้ด้วย)
เพื่อลดการปะทะกันระหว่างฝนและอาคาร และแดดสู่อาคาร(ผ่านกระจก)โดยตรง
พูดโดยสรุปคือ การเพิ่มพื้นที่ดังกล่าวกลับมีส่วนช่วยลดความร้อน(ที่ลมพามา)จากภายนอกอาคารสู่พื้นที่ภายในอาคาร
ปูพื้นฐานก็คือโดยปกติแล้วมนุษย์จะมี Comfort Temperature อยู่ระหว่าง 27-30 องศาเซลเซียส
แ่ต่เมื่อใดก็ตามที่อุณหภูมิภายนอกสูงกว่าอุณหภูมิข้างต้น แปลว่า ลมจะเป็นส่วนสำคัญที่พัดเอาความร้อนมาปะทะเข้ากับคนหรืออาคาร
(จินตนาการถึงการเดินถนนในวันที่ร้อนจัด ที่มีลมร้อนพัดเข้าใส่หน้า!)
Image.6 Source: Siree Thirakomen
จะเห็นได้ว่าในกรณีของอาคารเดิมที่ไม่มีพื้นที่ Semi Outdoor ที่ออกแบบเข้าไปใหม่
ลมที่พัดมาจะเข้าปะทะเข้ากับอาคารอย่างรุนแรง ซึ่งหากกำหนดค่า Air Temperature ภายนอกที่ 32 องศาเซลเซียส
จะแปลว่าอาคารจะปะทะเข้าโดยตรงกับลมที่มีอุณหภูมิสูง(Image.6)
ใน Image.7 จะเห็นได้ว่าตัวพื้นที่ Semi Outdoor ช่วยลดแรงลมที่เข้าปะทะกับตัวอาคารโดยตรง
และลดให้ลมบริเวณ Point A-D เหลืออยู่ที่ 0.52, 0.69, 0.88 และ 0.87 m/s ตามลำดับ
ซึ่งหมายถึงว่าการลดแรงลมดังกล่าวจะลดการที่ลมร้อนจะปะทะเข้าอาคารโดยตรงได้เช่นเดียวกัน
Image.7 Source: Siree Thirakomen
นี่นับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ทดลองใช้เครื่องมืออื่นนอกจากองค์ความรู้พื้นฐานในการออกแบบในการช่วยออกแบบงานดีไซน์
ตื่นเต้นมากๆ ที่ได้ลองทำงานร่วมกับคนทำงานด้านนี้ เพราะอย่างน้อยมันก็จะช่วยให้งานออกแบบอาคารมีความแม่นยำและเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้นกว่าเดิม
Copyright by Natthaphan Sukonthaphan